แรกเริ่มมาร์ชแมลโลนั้นไม่ได้ทำมาจากเจลาติน แต่มีการพัฒนามาจากขนมหวานในสมัยอียิปต์โบราณ ซึ่งใช้สารสกัดจากรากของต้นมาร์ชแมลโล (Althaea officinalis) ซึ่งถือเป็นพืชสมุนไพรพื้นเมืองแอฟริกา มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการเจ็บคอ นำมาผสมกับถั่วและน้ำผึ้ง แต่เนื่องจากต้นมาร์ชแมลโลมีราคาแพงและหายาก
ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาใช้เจลาตินแทนกลายเป็นเจลาตินมาร์ชแมลโล ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งคิดค้นโดยบริษัทผู้ผลิตขนมของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยบริษัท Doumak ซึ่งได้คิดค้นกระบวนการ Extrusion กล่าวคือโฟม Marshmallow จะถูกบีบอัดผ่านแม่พิมพ์ให้เป็นแท่งยาว จากนั้นก็ถูกตัดให้เป็นก้อนเล็ก ๆ บางครั้งอาจเคลือบผิวด้วยน้ำตาล ส่วนมากจะผลิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จากสถิติพบว่า คนอเมริกันกินเจลาตินมาร์ชแมลโล ถึงปีละ 90 ล้านปอนด์เลยทีเดียว!!!
ข้อคิดดี ๆ จากขนมที่ชื่อว่า “มาร์ชแมลโล”
เด็ก ๆ ทั้งหลายคงรู้จักและคุ้นเคยกับขนมที่ชื่อว่า มาร์ชแมลโล เป็นอย่างดี หรือ มาร์ชแมลโลว์ มาร์ชเมลโล่ มาร์ชเมลโล มาร์ชมาลโลว์ อะไรก็ตามล้วนเป็นขนมชนิดเดียวกันซึ่งเจ้ามาร์ชแมลโล มีที่มาจากต้นมาร์ชแมลโล เพราะวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการทำขนมชนิดนี้ ก็มาจากรากของต้นมาร์ชแมลโล ในสมัยก่อน ต้นมาร์ชแมลโล เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บรรเทาอาการเจ็บคอ เมื่อถูกนำมาทำขนมจึงตั้งชื่อขนมชนิดนี้ว่า “มาร์ชแมลโล” มีลักษณะรูปทรงเป็นก้อน ๆ หลายขนาด หลายแบบ เนื้อนุ่มนิ่ม แถมบางทียังสอดไส้ช็อกโกแลต หรือครีมรสผลไม้
และมาร์ชแมลโลก็กลายเป็นที่โด่งดังและเป็นที่ให้ความสนใจขึ้นมาอีกครั้งกับ “ทฤษฎีมาร์ชแมลโล” ที่เป็นจุดประกายความคิดให้กับชิวิตของคนหลายคน โดยศาสตราจารย์ Walter Mischel ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ได้ทำการทดสอบมาร์ชแมลโล (Marshmallow Test) โดยทดสอบกับเด็กจำนวน 600 คน ที่มีอายุระหว่าง 4-6 ขวบ ในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยให้เด็กๆเลือกขนมที่ตนเองชอบ เช่น มาร์ชแมลโล คนละ 1 ชิ้น แล้วให้เด็ก ๆ นั่งอยู่บนโต๊ะในห้องคนเดียวพร้อมกับขนม และได้บอกเด็ก ๆ ก่อนออกจากห้องว่า สามารถจะกินขนมได้แต่ถ้าสามารถอดทนรอไม่กินได้ถึง 15 นาที จะได้ขนมเพิ่มอีก 1 ชิ้น จากนั้นก็จะทำการสังเกตตรวจสอบพฤติกรรมของเด็กเหล่านั้น
ซึ่งจากผลการทดสอบทฤษฎีมาร์ชแมลโลนี้ พบว่า เด็กบางคนก็จะกินขนมนั้นทันที หรือพยามยามนั่งมองและตัดสินใจว่าจะกินดีหรือไม่ บางคนถึงขั้นกับทุบโต๊ะ พยายามอดทนไม่กินแต่ในที่สุดก็ไม่สามารถทำได้ และตัดสินใจกิน หรือบางคนก็เลือกที่จะรอคอยจนเวลาผ่านไป 15 นาที แล้วค่อยกินเพื่อจะได้ขนมเพิ่มอีก 1 ชิ้น และจากการประเมินผลพบว่า เด็กที่สามารถควบคุมตนเองไม่กินขนมได้ เมื่อโตขึ้นในวัยผู้ใหญ่เด็กเหล่านี้ จะมีสติปัญญาและมีทักษะทางอารมณ์ที่ดีกว่า อีกทั้งประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตคู่แต่งงาน จากการทดสอบทฤษฎีมาร์ชแมลโลนี้ ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ควรเริ่มทำตั้งแต่เกิดโดยสถาบันครอบครัวมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรียนรู้จากระบบการศึกษาในโรงเรียนเพียงเท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับอนุบาล