ฮาลาล (Halal) คืออะไร?
ฮาลาล (Halal) เป็นภาษาอาหรับที่แปลว่า อนุมัติ คำนี้ถูกนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์หรือตราบนผลิตภัณฑ์ เพื่อยันยันว่าสินค้าอุปโภคบริโภค ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมสามารถใช้สินค้า/หรือบริโภคสินค้านั้นๆได้
เครื่องหมายฮาลาล (Halal) คือเครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล , คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้การรับรองแล้วว่า ชาวมุสลิมสามารถบริโภคหรือรับประทานได้ โดยทั่วไปเครื่องหมายฮาลาล (Halal) มักพบอยู่บนผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม
เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) ทำมาจากอะไร?
เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายคอลลาเจนด้วยกรดหรือด่าง ส่วนใหญ่เจลาตินฮาลาล ทำมาจากกระดูกหรือหนังสัตว์ เช่น ปลา วัวและควาย โดยผ่านกระบวนการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักการอิสลาม ผลิตภัณฑ์ที่เป็น เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) สามารถสังเกตเครื่องหมายการประทับตราฮาลาลบนตราผลิตภัณฑ์สินค้า
อาหารฮาลาล (Halal food) คืออะไร?
อาหารฮาลาล (Halal food) คือ อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีตราฮาลาลรับรองว่า ชาวมุสลิมสามารถรับประทานหรือใช้ประโยชน์ได้ เพราะว่าผ่านกระบวนการผลิต/แปรรูปถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ โดยอาหารฮาลาล (Halal food) จะต้องไม่เจือปนอาหารต้องห้าม/ของต้องห้ามในศาสนาอิสลาม เช่น เหล้า สุนัข หมู ไขมันหมู เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการสกัด/นำวัตถุจากเนื้อสัตว์มาใช้ จะต้องถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม วิธีสังเกตว่าวัตถุดิบหรืออาหาร เป็นอาหารฮาลาล (Halal food) หรือไม่? ให้ดูจากเครื่องฮาลาล (ตราที่ได้รับการอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลาม) ที่รับรองบนสินค้า
เจลาตินในการประกอบอาหารฮาลาล
เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) เป็นวัตถุดิบอาหาร ที่ชาวมุสลิมสามารถรับประทานได้ โดยคุณสมบัติ และ เนื้อสัมผัสของเจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) ไม่ได้แตกต่างจากเจลาตินทั่วไป ทำให้ปัจจุบันนี้มีการนำ เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) ไปใช้ประกอบเป็นอาหารฮาลาลได้หลากหลายขึ้น เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) มักพบใน อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ขนมหวาน ไอศกรีม เยลลี่ มาร์ชแมลโล เป็นต้น
ประโยชน์ของเจลาตินฮาลาล
เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นเนื้อเจล หรือเนื้อเยลลี่ เจลาตินฮาลาล (Halal Gelatin) มีคุณสมบัติคล้ายกับเจลาตินทั่วไป เพียงแต่ปราศจากส่วนผสมที่ทำมาจากหมู และมักนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น อุตสาหกรรมยา ที่ใช้เจลาตินเคลือบเม็ดยา ทำเป็นแคปซูลยาทั้งชนิดอ่อนและชนิดแข็ง , อุตสาหกรรมความงาม ที่ใช้เจลาตินมาทำเป็นแผ่นมาส์กหน้าและเนื้อครีม และในอุตสาหกรรมฟิล์ม ที่ใช้เจลาตินในการเคลือบภาพถ่ายที่อัดฟิล์ม เป็นต้น
ปัจจุบันอาหารฮาลาลเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญมากไม่เพียงแต่เฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น ยังมีความสำคัญและมีความสนใจในหมู่ผูประกอบการธรุกิจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารสำเร็จรูป ขนมต่างๆ หรือธุรกิจทางด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว เป็นต้น
ผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตอาหารฮาลาลและจำหน่ายให้กับมุสลิมในประเทศ จะต้องหันมาให้ความสนใจกับอาหารฮาลาลกันอย่างจริงจัง และการดำเนินการกระบวนการการผลิตอาหารที่ฮาลาล
จะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีเครื่องหมายรับรองฮาลาล ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ซึ่งในประเทศไทยเองมีประชากรมุสลิม 2.2 ล้านคน ถึง 7.4 ล้านคน ถือได้ว่ามีอัตราการเติบโตทีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และชาวมุสลิมกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 1,500 ล้านคน รวมตัวเป็นองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference : OIC) มีประเทศสมาชิก 55 ประเทศ คนกลุ่มนี้บริโภคอาหารมากกว่าปีละ 3 ล้านล้านบาท และจะกินเฉพาะอาหาร “ฮาลาล” (HALAL) เท่านั้น ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการผลิตและให้มาตรฐานอาหารฮาลาลในระดับสากล ผู้ที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารสำหรับมุสลิมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ปฏิบัติให้ถูกหลักบัญญัติอิสลามอย่างเคร่งครัด
คำว่า “อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่มีส่วนผสมการผลิต ส่วนประกอบและการได้มาถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพื่อให้มุสลิมสามารถบริโภคอาหารได้ รวมถึงสามารถปฏิบัติศาสนกิจตามหลักและแนวทางอิสลามได้ อิสลามได้มีการบอกให้มุสลิมมีการบริโภคอาหารที่ฮาลาล และยกเว้นจากสิ่งที่ถูกต้องห้าม ดังนั้นคำว่า ฮาลาล หรือ หะล้าล นั้นมีความสำคัญกับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นอย่างยิ่ง
ในอุตสาหกรรมอาหาร ดร.วินัย ดะห์ลัน คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและผู้อำนวยการศูนย์บ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงเหตุผลว่าทำไมอุตสาหกรรมอาหารต้องได้รับตรารับรองอาหารฮาลาล ถ้าหากพิจารณาดูแล้วตราฮาลาล สามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับอุตสาหกรรมอาหารนั้นได้ เช่น เราอาจเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจหาอาหารเพื่อรับรองฮาลาล 600 บาท แต่ยอดขายของเราอาจเพิ่มเป็น 100 ล้านบาท