เจลาตินแคปซูลมักใช้ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม ซึ่งใช้เป็นตัวบรรจุยา ซึ่งขั้นตอนการผลิตไม่ยากแต่ไม่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรที่ซับซ้อนในการผลิตอย่างตัวบรรจุยาประเภทอื่นๆ แม้แคปซูลเจลาตินจะถูกแบ่งออกเป็นแคปซูลแข็ง (Hard gelatin capsule) และแบบอ่อน (Soft gelatin capsule) แต่แนวโน้มของผลิตภัณฑ์เจลาตินซอฟแคปซูลนี้เพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก โดยในหลายอุตสาหกรรมใช้ซอฟเจลนี้บรรจุผลิตภัณฑ์ของตน เช่น เครื่องสำอาง ยาสระผม ครีมนวด อาหารเสริม ฯลฯ ดังนั้นผู้บริโภคควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแคปซูลเจลาตินประเภทนี้ด้วย
เจลาตินซอฟแคปซูล
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซอฟเจล (softgels) แคปซูลเจลาตินแบบอ่อนนี้เป็นตัวบรรจุที่ผลิตจากชิ้นส่วนของเจลาตินมากกว่าสองส่วนที่ยึดติดกัน โดยแคปซูลจากเจลาตินเหล่านี้จะใช้สำหรับบรรจุส่วนประกอบหรือตัวทำละลายที่ไม่ได้มาจากน้ำ เพราะน้ำจะเป็นตัวละลายเจลาตินได้ และสำหรับส่วนประกอบที่มีพื้นฐานจากน้ำมันบางอย่างจะละลายเจลาตินได้เช่นกัน และเมื่อกินเข้าไปในร่างกายแล้วแคปซูลจะละลายและจะคลายตัวยาออกมา เจลาตินแคปซูลจะละลายภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่เข้าถึงกระเพาะอาหาร ซอฟเจลถูกผลิตและบรรจุโดยใช้เครื่องเดียวกัน การผลิตอยู่ในกระบวนการเดียว และบางครั้งอาจมีการใส่ชื่อยี่ห้อหรือชื่อตัวยาพิมพ์ลงบนเจลาตินซอฟแคปซูลนั้นด้วย เจลาตินมีคุณสมบัติเป็นสารดูดความชื้นในธรรมชาติ โดยตัวซอฟเจลมีส่วนผสมเป็นน้ำประมาณ 5-14% อยู่ในตัว
ส่วนผสมหลักและขั้นตอนการผลิตเจลาตินสำหรับซอฟแคปซูลดูค่อนข้างซับซ้อน แต่ยังมีบางจุดที่ต้องคำนึงถึงอีกเช่นกัน คือ ข้อดีและข้อเสียเบื้องต้นของเจลาตินซอฟแคปซูล:
ข้อดีของเจลาตินซอฟแคปซูล
- ง่ายต่อการกลืน ไม่มีรสชาติ คงรูป
- สามารถผลิตได้หลากหลายสี รูปร่างและขนาด
- สามารถรองรับสารประกอบต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น กึ่งของแข็ง ของเหลว กึ่งเหลว เจลหรือข้น
- เป็นตัวส่ง ลำเลียงตัวยาหรือสารได้ทันทีหรือกำหนดเวลาได้
- สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการดูดซึมยาได้โดยการส่งยาในสารละลายหรือสารเสริมอื่น ๆ
ข้อเสียของซอฟเจลหรือแคปซูลเจลาติน
- ต้องใช้อุปกรณ์การผลิตพิเศษ
- มีความกังวลเกี่ยวกับการคงรูปของเจลาตินเมื่อเจอสารประกอบหรือสารที่บรรจุที่เป็นตัวทำละลาย
- ตัวเลือกที่จำกัดของสารที่เข้ากันได้กับเจลาติน
ขอลงรายละเอียด ข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับส่วนประกอบของซอฟเจลหรือเจลาตินแคปซูลสักเล็กน้อย ข้อมูลอาจซับซ้อนนิดหน่อย แต่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามนะ
ส่วนประกอบของเปลือกนอกของซอฟเจล
เปลือกด้านนอกประกอบด้วยเจลาตินหรือแป้งมันฝรั่ง แป้งเจลาติน (เจลาตินเมทริกซ์) ที่นำมาทำเป็นแคปซูลประกอบด้วยเจลาติน พลาสติไซเซอร์ (ตัวยึด) ตัวทำละลายและส่วนผสมอื่น ๆ เช่น รสและสี
เจลาติน – ที่มีแหล่งกำเนิดจากวัว หมูหรือปลา มีความแข็งแรงของเจล (bloom strength) ที่แตกต่างกัน ยิ่งมีความแข็งแรงของเจลมากยิ่งทำให้ตัวเปลือกแคปซูลเจลาตินคงตัวได้ ถ้าส่วนบรรจุเป็นน้ำมันตัวเปลือกจะถูกผลิตด้วยความแข็งของเจล (bloom strength) ที่ 150 ถ้าสารบรรจุเป็นพวกโพลิเอธิลีน (PEG) จะต้องใช้ bloom strength ที่สูงกว่า เจลลาตินจากปลามักถูกใช้แทนกรณีที่มีข้อจำกัดจากเจลาตินวัว เช่น โรคที่เกี่ยวกับวัว และเจลาตินที่เป็นหมู เช่น กฎโคเชอร์ ฮาลาล
พลาสติไซเซอร์ (ตัวยึด) – กลีเซอรีนและซอร์บิทอลพิเศษเป็นสารที่ใช้กันทั่วไปสองชนิด กลีเซอรีนมักใช้กับสารบรรจุที่เป็นน้ำมัน ซอร์บิทอลพิเศษ ใช้กับสารบรรจุเป็นพวกโพลิเอธิลีน (PEG) เพราะซอร์บิทอลไม่สามารถละลายได้ในโพลิเอธิลีนและจะไม่รั่วจากชั้นเปลือกไปปนกับสารบรรจุได้แบบกลีเซอรีน ซอร์บิทอลพิเศษ มีสูตรเพื่อยับยั้งซอร์บิทอลแบบปกติจากการตกผลึกในเปลือกของเจลาติน ไม่ควรสับเปลี่ยนซอร์บิทอลปกติ กับซอร์บิทอลพิเศษ
ตัวทำละลาย – น้ำ
ส่วนผสมเสริม – สีและรสชาติ
เมทริกซ์แป้งมันฝรั่ง – เป็นสารที่โปร่งใสที่อาจใช้แทนเจลาตินหรือผสมเจลาตินในชั้นเปลือก มีความเรียบคล้ายกับเจลาตินซึ่งไม่มีสีและรสชาติ ย่อยง่ายและต้นกำเนิดของพืช ดังนั้นมักใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความกังวลของโรคที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น วัว หมูหรือปลา และทางเลือกสำหรับคนที่ทานมังสวิรัติได้